Milarepa : Life and Ordeals

Kundrol Dechen Ling

<h3><b>Milarepa : Life and Ordeals</b></h3><h3><br /></h3><h3>--- Kalsang Daws</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3>  <b style="color: rgb(22, 126, 251);">  Milarepa (1)</b><br /></h3><h3> <span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b> เรื่อง มิลาเรปะ </b></span></h3><h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>&nbsp;</b></span></h3><h3><span style="line-height: 1.5;">ชีวิตจริงซึ่งเป็นบทเรียนทางธรรมที่เป็นอมตะของท่านมิลาเรปะ ชายจากตระกูลมิลา ผู้สวมผ้าฝ้าย (เรปะ) ผู้กลายเป็นแรงบันดาลใจของผู้แสวงหาสัจธรรมในทุกยุคสมัย</span></h3><h3><br /></h3><h3>ตอนที่ ๑ :</h3><h3><br /></h3><h3>ท่านมิลาเรปะถือกำเนิดในครอบครัวคหบดี ทางใต้ของทิเบต แต่คุณพ่อเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก ครอบครัวถูกพี่ชายของพ่อรังแกจนยากไร้ คุณแม่ของท่านจึงโกรธแค้น ขอให้มิลาเรปะไปเรียนวิชาเวทมนตร์เพื่อกลับมาแก้แค้นและเอาสมบัติคืน มิลาเรปะจึงเดินทางไปเรียนและกลับมาแก้แค้นด้วยการเสกให้เกิดพายุฝนและลมทำลายบ้านเรือนและเป็นเหตุให้มีคนบริสุทธิ์ล้มตายเป็นจำนวนมาก แม้จะได้ทำให้ครอบครัวของลุงเจ็บช้ำน้ำใจและสูญเสียทรัพย์สิน แต่ก็ทำให้คนอื่นสูญเสียด้วย ท่านจึงเศร้าใจ ตัดสินใจทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างออกแสวงหาสัจธรรม</h3><h3><br /></h3><h3><span style="line-height: 1.5;">ภาพประกอบ ภาพวาดท่านมิเลเรปะ ศตวรรษที่ ๑๙ </span><br /></h3><h3>himalayanart.org</h3><h3>*****</h3><h3><br /></h3><h3>ความเป็นมา</h3><h3><br /></h3><h3>เมื่อหลายปีก่อน มูลนิธิพันดาราได้มีโอกาสประสานงานในการจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง มิลาเรปะ รอบปฐมฤกษ์ ที่โรงภาพยนตร์สยามพารากอนโดยได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาทอดพระเนตรเป็นการส่วนพระองค์</h3><h3><br /></h3><h3>ต่อมา ครูได้เดินทางไปทิเบตกับคณะถ่ายหนังชัมบาลา ในครั้งนั้น ผู้กำกับขอให้เล่าเรื่อง มิลาเรปะให้ฟัง เมื่อกลับมา ได้เล่าเรื่องนี้เป็นตอนๆ ให้ศิษย์และจิตอาสาพันดาราในไลน์ได้อ่าน </h3><h3><br /></h3><h3>ในวาระที่จะมีการฉายหนังมิลาเรปะที่สวนโมกข์กรุงเทพในวันที่ ๓ กันยายนนี้ จึงขอนำเรื่องราวของคุรุผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้มาเผยแพร่ โดยที่เขียนเป็นเรื่องที่เล่าจากครู เพื่อให้เข้าใจง่าย จึงมิได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของบุคคลและสถานที่</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3><br /></h3><h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b> Milarepa ( 2 )</b></span></h3><h3><span style="line-height: 1.5; color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ ๒:</b></span><br /></h3><h3><span style="line-height: 1.5;"><br /></span></h3><h3>มิลาเรปะออกเดินทางจากทางโลกสู่ทางธรรมด้วยการตามหาพระอาจารย์ ผู้มีนามว่า มาร์ปะ (Marpa) นักแปลผู้ยิ่งใหญ่ จนวันหนึ่ง เขาได้มาถึงบ้านของท่านมาร์ปะ ผู้ที่เขาต้องการฝากตัวเป็นศิษย์ของท่าน คืนก่อนหน้านั้น มาร์ปะมีนิมิตที่เป็นฝันมงคลว่าท่านได้รับสถูป (เจดีย์) แก้วที่มัวหมองและท่านต้องเช็ดถูให้สะอาดก่อนนำไปวางบนหิ้ง ส่วนภรรยาของท่านชื่อตักเมมา (Dagmema) แปลว่า สตรีผู้ไร้อัตตา ก็ฝันเป็นมงคลเช่นกัน ท่านจึงคาดการณ์ว่าจะได้พบบุคคลสำคัญในวันนั้น</h3><h3><br /></h3><h3>เมื่อมิลาเรปะมาถึง มาร์ปะอยู่กลางทุ่งนา ไถนาไป ดื่มเบียร์ไป มิลาเรปะถามท่านว่า นี่ใช่บ้าน ของมาร์ปะ นักแปลผู้ยิ่งใหญ่หรือไม่ ท่านบอกว่า ใช่ มิลาเรปะจึงบอกว่า เขาคือคนบาป ผู้ปรารถนาการหลุดพ้น มาร์ปะจึงให้มิลาเรปะช่วยไถนาแล้วแบ่งเบียร์ให้ดื่ม จากนั้นก็พาไปในบ้าน สอบถามความเป็นมา มิลาเรปะเล่าชีวิตให้พระอาจารย์ฟัง แล้วขอให้รับเขาเป็นศิษย์ </h3><h3><br /></h3><h3>ท่านมาร์ปะบอกว่า ถ้าจะปฏิบัติธรรมกับท่าน ก็ต้องหาที่พักและหาอาหารกินเอง ถ้าต้องการอาหารกับที่พักฟรี ก็ไม่ได้พระธรรม เพราะพระธรรมที่ท่านได้รับจากพระอาจารย์ของท่านไม่สามารถให้เหมือนของไร้ค่าได้</h3><h3><br /></h3><h3>หมายเหตุ : ภาพยนตร์เรื่องมิลาเรปะที่พระอาจารย์ชกลิง ริมโปเชกำกับจบลงที่มิลาเรปะออกเดินทางแสวงหาสัจธรรม โดยยังไม่ได้พบท่านมาร์ปะ</h3><h3><br /></h3><h3>ภาพประกอบ </h3><h3>ท่านมาร์ปะ (ขวา) กับมิลาเรปะ (ซ้าย) คุรุที่เป็นฆราวาสทั้งสองท่าน ศตวรรษที่ ๑๖ ภาพนี้อยู่ที่ Rubin Museum of Art ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์อนุรักษ์ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมของภูมิภาคหิมาลัยและอื่นๆ สหรัฐอเมริกา</h3><h3><br /></h3><h3>Photo: himalayanart.org</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3><br /></h3><h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b> Milarepa ( 3 )</b></span></h3><h3><b style="color: rgb(22, 126, 251);">ตอนที่ ๓ :</b><br /></h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะกราบพระอาจารย์มาร์ปะพร้อมกับกล่าวอย่างนอบน้อม "ศิษย์เป็นคนบาป ชีวิตนี้ปรารถนาเพียงพระธรรม อาหาร ที่พักที่จะช่วยจุนเจือชีวิตไม่ใช่เรื่องสำคัญ ศิษย์จะไปหาที่อยู่อาศัยและจะออกไปเป็นขอทานเพื่อหาอาหารเลี้ยงดูตัวเอง ขอให้พระอาจารย์เมตตาสอนธรรมอันเป็นน้ำอมฤตด้วยเถิด ตัวศิษย์ไม่มีสมบัติใดๆ ขอมอบ กาย วาจา ใจ นี้เป็นอาจาริยบูชา"</h3><h3><br /></h3><h3>ท่านมาร์ปะมิได้แสดงสีหน้ายินดี ตอบด้วยน้ำเสียงที่น่าเกรงขามว่า "ดี ถ้าเป็นเช่นนี้ เจ้าก็จงปฏิบัติตามคำแนะนำของเรา"</h3><h3><br /></h3><h3>มารดาตักเมมาที่นั่งฟังการสนทนาอยู่ ณ ที่นั้นเกิดความรู้สึกสงสารชายหนุ่มผู้โหยหาพระธรรมอย่างจับใจ จึงแอบพามิลาเรปะไปท้ายทุ่งนาจัดที่พักและแบ่งอาหารให้บ้างเล็กน้อย </h3><h3><br /></h3><h3>วันแล้ววันเล่ามิลาเรปะก็จะเข้าไปหมู่บ้านเพื่อขออาหารมาประทังชีวิต</h3><h3><br /></h3><h3>วันหนึ่ง มาร์ปะเรียกมิลาเรปะไปพบ ท่านบอกว่า "ในเมื่อเจ้าขอมอบกาย วาจา ใจให้แก่เรา เจ้าจงไปทำงานชิ้นหนึ่งเพื่อดับทุกข์ของเรา ชาวบ้านในหมู่บ้านยาดรก ตักลุงกับลิงได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านในภาคกลางอย่างมากด้วยการขโมยอาหารและเสบียง เมื่อเจ้าเชี่ยวชาญเสกเวทมนตร์คาถา จงใช้มนตร์ดำของเจ้าบันดาลให้ลูกเห็บตกดังฟ้ารั่ว สั่งสอนผู้คนในหมู่บ้านเหล่านี้" </h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะไม่เข้าใจว่าทำไมมาร์ปะจึงขอให้เขาทำบาปอีก แต่พระอาจารย์มีปัญญายิ่งใหญ่ คงเป็นวิธีไถ่บาปของคนบาปหนาเยี่ยงเขา เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาจะทำทุกอย่างเพื่อพระอาจารย์ได้ มิลาเรปะจึงไปเสกเวทมนตร์ทำร้ายผู้คนในหมู่บ้านแห่งนี้...</h3><h3><br /></h3><h3>จากใจผู้เล่า : แม้เวลาจะผ่านไปกว่าหนึ่งพันปี (มิลาเรปะมีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. ๑๐๕๒ - ๑๑๓๕) ชีวิตของคุรุโยคีท่านนี้ยังคงมีเนื้อหากินใจและมีความทันสมัย เข้ากับยุคสมัยของเรา ความทุกข์ที่ท่านประสบก็เป็นความทุกข์แบบเดียวกับที่เกิดในชีวิตของเราหรือบุคคลในสังคม ท่านเป็นคุรุที่ไม่ได้สอนธรรมะบนบัลลังก์ มิได้สวมอาภรณ์แพรไหมเนื้อดี และมิได้นำเสนอเรื่องราวชีวิตจากมุมมองของความบริสุทธิ์ผุดผ่องที่มีแต่การทำความดีและทุกอย่างเป็นสีขาวสวยงาม ตรงกันข้าม ท่านสอนธรรมะจากป่าเขา เล่าเรื่องราวของชายหนุ่มผู้หลงผิดและปรารถนาที่จะไถ่บาปที่ได้ก่อ เมื่อท่านละจากเมืองไปสู่ป่า ท่านสวมใส่ผ้าฝ้ายที่เก่าจนเป็นรูพรุน กินลูกสนเป็นอาหารจนร่างกายผ่ายผอม (ภาพทังกาหลายภาพจึงนำเสนอท่านราวกับท่านมีวรกายสีเขียว) สำหรับชาวทิเบต ชีวิตของท่านเป็นอมตะ และเป็นแรงบันดาลใจที่ก่อให้เกิดงานพุทธศิลป์อย่างประณีตตราบจนถึงปัจจุบัน</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3><h3>Photo: himalayanart.org</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b><span style="line-height: 1.5;">  Milarepa (4)</span><br /></b></span></h3><h3><span style="line-height: 1.5; color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ ๔:</b></span><br /></h3><h3><br /></h3><h3> เมื่อปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากพระอาจารย์เสร็จสิ้นแล้ว มิลาเรปะก็กลับมารายงานต่อท่านมาร์ปะว่างานสำเร็จแล้ว แทนที่ท่านจะดีใจ ท่านกลับตอบว่า "เจ้านี่เป็นคนบาปหนาจริงๆ ทำบาปซ้ำแล้วซ้ำเล่า เราเพียงแค่อยากดูว่าเจ้าจะยังทำความชั่วอยู่หรือเปล่า" </h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะได้ฟังดังนั้นก็ละอายแก่ใจ เขาร้องไห้ เสียใจว่าเขาทำความผิดอีกครั้งหนึ่งแล้ว เขาตำหนิตัวเองว่าเขาช่างเป็นคนบาปหนาที่ชาตินี้คงไม่มีโอกาสได้หลุดพ้น </h3><h3><br /></h3><h3>เมื่อมิลาเรปะออกไป มาร์ปะก็ทำพิธีแก้เวทมนตร์ที่มิลาเรปะใช้ และทำให้หมู่บ้านที่ถูกทำลายกลับมาเป็นปกติดังเดิมเสมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น</h3><h3><br /></h3><h3>มาอีกวันหนึ่ง มิลาเรปะไปขอทานแล้วได้ของบริจาคเป็นหม้อเก่าๆ ใบหนึ่ง นั่นคือสมบัติอันวิเศษที่เขาได้รับ ทันทีที่ได้หม้อใบนี้ เขารีบนำไปให้พระอาจารย์มาร์ปะ "ศิษย์ขอมอบหม้อใบนี้แด่พระอาจารย์" ทันทีที่มาร์ปะเห็นหม้อ ท่านก็น้ำตาซึม ด้วยหม้อใบนี้ทำให้ท่านคิดถึงพระอาจารย์ของท่าน ท่านจึงรับหม้อมาด้วยความยินดี แล้วตักเนยใส่ ยกหม้อตั้งไฟ แล้วถวายหม้อพร้อมเนยนั้นให้เป็นเครื่องบูชาแด่พระอาจารย์นาโรปะ ผู้เป็นปฐมคุรุของท่าน</h3><h3><br /></h3><h3>เวลาผ่านไป ภาพผู้คนล้มตายด้วยการเสกเวทมนตร์ยังคงหลอกหลอนมิลาเรปะ เขาโหยหาคำสอนเพื่อให้เขาได้สลายบาปกรรม ได้มีชีวิตใหม่ที่จะไถ่ความผิดที่เกิดขึ้น</h3><h3><br /></h3><h3>Photo: himalayanart.org</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b><span style="line-height: 1.5;">  Milarepa (5)</span><br /></b></span></h3><h3><span style="line-height: 1.5; color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ ๕:</b></span><br /></h3><h3><br /></h3><h3> มิลาเรปะรวบรวมความกล้าที่จะบอกมาร์ปะว่าขอให้สอนธรรมะแก่เขา มาร์ปะมองหน้ามิลาเรปะแล้วหัวเราะเยาะ "เจ้าคนบาปหนานี่นะที่จะรับคำสอนอันสูงส่งที่เราลำบากพากเพียรไปรับมาจากพระอาจารย์นาโรปะผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าเจ้าอยากปฏิบัติธรรมจริง เจ้าจงช่วยงานเราอย่างหนึ่ง เราอยากสร้างปราสาทให้แก่บุตรชายของเรา เจ้าจะทำได้มั้ยล่ะ" </h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะก็โต้แย้งว่า "แต่หากศิษย์ต้องตายลงระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งหมายความว่าชีวิตนี้ศิษย์จะไม่ได้ปฏิบัติธรรม จะทำอย่างไร"</h3><h3><br /></h3><h3>"เจ้าจะไม่ตายในช่วงนี้อย่างแน่นอน คำสอนของเราสามารถสอนด้วยคำพูดไม่กี่คำ ถ้าเจ้ามีวิริยะในการทำสมาธิตามคำสอนของเรา เจ้าก็จะพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถบรรลุธรรมในชาตินี้ได้หรือไม่ สายการปฏิบัติของเรามีพรพิเศษที่ไม่เหมือนใครในการนำไปสู่การบรรลุธรรม"</h3><h3><br /></h3><h3>ได้ฟังดังนั้น มิลาเรปะก็สบายใจและเปี่ยมไปด้วยความหวังที่จะได้ปฏิบัติธรรม </h3><h3><br /></h3><h3>มาร์ปะจึงนำแบบก่อสร้างปราสาทรูปวงกลมมาให้มิลาเรปะดูและพาไปด้านตะวันออกของภูเขา </h3><h3><br /></h3><h3>"เจ้าจงสร้างตรงนี้ตามแบบที่เรากำหนดไว้"</h3><h3><br /></h3><h3>หลังจากวันนั้น เราจะเห็น มิลา ผู้ผ่ายผอม แบกหินแต่ละก้อนมาก่อปราสาท </h3><h3><br /></h3><h3>เวลาผ่านไปจนงานก่อสร้างปราสาทเสร็จไปได้ครึ่งหนึ่ง พระอาจารย์มาร์ปะก็มาตรวจงานพร้อมกับพูดว่า "เจ้ามิลา เมื่อตอนที่เราเอาแบบให้เจ้าดู เราไม่ได้คิดให้รอบคอบ แบบนี้ไม่ถูกต้อง เจ้าจงรื้อปราสาทนี้เสีย แล้วเอาดิน หิน กลับไปกองไว้ที่เดิม"</h3><h3><br /></h3><h3>ต่อมา มาร์ปะก็ทำเป็นว่าเมาแล้วเอาแบบก่อสร้างอีกแบบหนึ่งให้มิลาเรปะดู "เจ้าจงสร้างตามแบบนี้ทางตะวันตกของภูเขา" </h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะจึงก่อสร้างปราสาทตามแบบซึ่งคราวนี้เป็นรูปครึ่งวงกลม เมื่อก่อสร้างจนเกือนจะเสร็จครึ่งหนึ่ง มาร์ปะก็กลับมาพร้อมกับพูดว่า "แบบนี้ไม่ถูกต้อง รื้อลงมา แล้วเอาดิน หินกลับไปกองไว้ที่เดิม"</h3><h3><br /></h3><h3>แล้วมาร์ปะก็พามิลาเรปะขึ้นไปทางเหนือของภูเขา แล้วบอกให้สร้างปราสาทใหม่อีกหลัง "นักแสดงมายากล เมื่อวันก่อนเราเมามากไป เลยไม่ได้อธิบายเรื่องการก่อสร้างให้ชัดเจน เจ้าจงสร้างปราสาทตรงนี้จะดีกว่า"</h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะจึงพูดกลับไปว่า "ทำแล้วรื้อทำให้ศิษย์เหนื่อยยากและทำให้พระอาจารย์หมดทรัพย์สิน ขอให้พระอาจารย์คิดให้รอบคอบก่อน"</h3><h3><br /></h3><h3>"วันนี้เราไม่ได้เมาเหล้า เราคิดรอบคอบแล้ว ปราสาทหลังนี้ควรเป็นรูปสามเหลี่ยม เจ้าจงทำไป เราจะไม่สั่งรื้อถอนแล้ว"</h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะจึงลงมือก่อสร้างอีกครั้ง ขณะที่ทำไปได้ ๑ ใน ๓ ส่วน มาร์ปะก็มาตรวจงาน ท่านพูดว่า "นักแสดงมายากล เจ้าก่อสร้างปราสาทให้ใคร ใครให้แบบแก่เจ้า"</h3><h3><br /></h3><h3>"พระอาจารย์เป็นผู้ขอให้ศิษย์ก่อสร้างปราสาทนี้เพื่ออมอบให้แก่บุตรชายของท่าน"</h3><h3><br /></h3><h3>"เราจำไม่ได้เลยว่าได้สั่งให้เจ้าทำงานนี้ ถ้าเป็นจริงตามที่เจ้าพูด เราคงเสียสติไปแล้ว</h3><h3><br /></h3><h3>พระอาจารย์ได้กำหนดแบบเช่นนี้จริงๆ มาร์ปะก็โต้กลับไปว่า "เป็นไปไม่ได้ที่เราจะออกแบบเช่นนี้ เจ้าจงรื้อทำใหม่เสีย"</h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะแทบจะหมดแรง แต่ก็จำต้องเชื่อฟังคำสั่งของพระอาจารย์ เขาจึงรื้อทุกอย่างที่ทำแล้วเริ่มก่อปราสาทหลังใหม่ตามแบบใหม่ที่มาร์ปะกำหนด...</h3><h3><br /></h3><h3>จากผู้เล่า : สิ่งก่อสร้างที่มิลาเรปะสร้าง ต้นฉบับภาษาทิเบตเรียกว่า "เซคา" ปกติหมายถึง ปราสาท วิหาร ซึ่งสามารถเข้าไปด้านในเพื่อภาวนา แต่ฉบับภาษาอังกฤษเรียกว่า tower ในที่นี้จึงเลือกใช้คำว่า ปราสาท ซึ่งอาจไม่ใช่คำที่ดีที่สุด แต่น่าจะดีกว่าหอคอย </h3><h3><br /></h3><h3>Photo: Miralepa's tower, Ethnographic Museum, Stockholm, From The Life of Milarepa translated by Lobsang P. Lhalungpa (Shambhala, 1984)</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b><span style="line-height: 1.5;">  Milarepa (6)</span><br /></b></span></h3><h3><span style="line-height: 1.5; color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ 6:</b></span><br /></h3><h3><span style="line-height: 1.5;"><br /></span></h3><h3><span style="line-height: 1.5;">หลังจากได้แบบใหม่มา มิลาเรปะก็เริ่มก่อสร้างปราสาทอีกครั้ง เขาพากเพียรแบกหิน ดำเนินงานก่อสร้างด้วยศรัทธา แม้จะเหนื่อยจนสายตัวแทบขาด แม้จะได้รับอาหารไม่เพียงพอสำหรับงานก่อสร้างชิ้นใหญ่นี้ แต่เขาก็ไม่ย่อท้อ ก้อนหินแต่ละก้อนที่แบกขึ้นหลังทำให้เขาเป็นแผลเหวอะหวะ จนเขาเป็นไข้ซม</span><br /></h3><h3><br /></h3><h3>มารดาตักเมมาได้เข้ามาดูแล นำยาและอาหารมาให้ หลายครั้งที่ตักเมมากับมิลาเรปะร้องไห้ด้วยกัน โดยไม่รู้เลยว่ามาร์ปะที่ดุดัน คอยตวาดด่าว่ามิลาเรปะก็แอบเช็ดน้ำตาอยู่บ่อยๆ ที่เห็นมิลาเรปะได้รับความทุกข์ทรมานจากการก่อสร้าง</h3><h3><br /></h3><h3>วันเวลาผ่านไป มิลาเรปะยังคงมุ่งมั่นก่อสร้างปราสาทอย่างพากเพียร แต่จิตใจของเขาเต็มไปด้วยความโศกเศร้า เขาไม่รู้ว่าเขาจะมีโอกาสได้รับพระธรรมที่เป็นดังอมฤตชำระบาปกรรมให้หมดสิ้นไปหรือไม่</h3><h3><br /></h3><h3>มารดาตักเมมาสงสารมิลาเรปะอย่างจับใจ ท่านได้ขอให้มาร์ปะเมตตามอบคำสอนให้ "ลามะผู้ประเสริฐ ขอท่านได้โปรดกรุณาต่อนักแสดงมายากล ผู้ทุกข์ทรมานจากการก่อสร้างปราสาทที่ไร้ความหมายเหล่านี้"</h3><h3><br /></h3><h3>มาร์ปะจึงบอกให้มารดาตักเมมาพามิลาเรปะมาพบแล้วมอบคำสอนในการยึดพระรัตนตรัยและเป็นสรณะและศีลพื้นฐานให้ "นี่คือสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติ ถ้าเจ้าต้องการคำสอนอันลึกซึ้งดุจดังคุรุนาโรปะได้รับ เจ้าต้องผ่านการทดสอบอันหนักหน่วงเยี่ยงท่าน"</h3><h3><br /></h3><h3>เมื่อได้รับฟังเรื่องราวความยากลำบากในการเข้าถึงพระธรรมของคุรุอาจารย์ หัวใจของมิลาเรปะก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง ศรัทธาของเขาเพิ่มพูนเป็นทวีคูณ เขาสาบานว่าจะทำทุกอย่างที่พระอาจารย์ขอให้เขาทำ</h3><h3><br /></h3><h3>Photo: himalayanart.org ศิลปะมองโกเลีย</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3><span style="line-height: 1.5; color: rgb(22, 126, 251);"><b>  Milarepa (7)</b></span><br /></h3><h3><span style="line-height: 1.5; color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ 7:</b></span><br /></h3><h3><span style="line-height: 1.5;"><br /></span></h3><h3> หลายวันผ่านไป มาร์ปะพามิลาเรปะไปดูที่ดินผืนหนึ่งซึ่งเป็นของญาติของท่าน ท่านบอกให้เขาก่อปราสาทหลังใหม่เป็นรูปสี่เหลี่ยม สีขาว มี ๙ ชั้น ท่านยืนยันกับเขาว่า คราวนี้จะไม่มีการรื้อถอนอย่างแน่นอน และเมื่อปราสาทเสร็จ ท่านจะมอบคำสอนที่เป็นหัวใจของการทำสมาธิให้</h3><h3><br /></h3><h3>แต่เพราะกังวัลว่า ปราสาทจะถูกรื้อและถอนอีก มิลาเรปะจึงขอให้ท่านตักเมมาเป็นพยานว่ามาร์ปะเป็นผู้ออกแบบจริงๆ และจะไม่มีการเปลี่ยนแบบอีก</h3><h3><br /></h3><h3>ขณะที่เขาก่อสร้างชั้นที่ ๑ ของปราสาทหลังนี้ ศิษย์สามคนของมาร์ปะก็ช่วยกันผลักก้อนหินก้อนใหญ่มาวางที่จุดที่ก่อสร้างซึ่งมิลาเรปะได้ใช้เป็นเหมือนตอม่อ</h3><h3><br /></h3><h3>เมื่อก่อสร้างไปจนถึงชั้นที่ ๒ มาร์ปะก็มาตรวจงานแล้วบอกว่า "ก้อนหินใหญ่ที่ฐานศิษย์ที่ปฏิบัติธรรมขั้นสูงเป็นคนนำมา จึงใช้ไม่ได้ เจ้าไม่ต้องรื้อถอนทั้งหลัง แต่ต้องย้ายก้อนหินนี้ไปไว้ที่เดิม แล้วเอามาวางใหม่ด้วยตนเอง" </h3><h3><br /></h3><h3>แต่จะเอาก้อนหินออกมาได้ มิลาเรปะต้องรื้อสิ่งที่ก่อสร้างแล้วทั้งหมด แล้วค่อยๆ นำก้อนหินกลับไปวางดังเดิม เขาทำงานที่ยากลำบากนี้โดยลำพัง</h3><h3><br /></h3><h3>ครั้งหนึ่ง มีผู้ขอให้ท่านมาร์ปะจัดพิธีมนตราภิเษกพระยีตัมนามว่า "จักรสัมวระ" (พระเต็มชก) ท่านตักเมมาบอกข่าวนี้แก่มิลาเรปะและเอ่ยปากว่า "เจ้าควรหาโอกาสเข้าร่วมพิธีและรับคำสอนพิเศษนี้" </h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะก็คิดว่า "เราได้สร้างปราสาทให้พระอาจารย์อย่างมีวิริยะและทำด้วยตัวของเราเอง เราสมควรได้รับคำสอนเป็นรางวัล"</h3><h3><br /></h3><h3>เขาจึงเข้าไปกราบพระอาจารย์แล้วนั่งข้างๆ ลูกศิษย์อื่น ท่านมาร์ปะเรียกเขาให้เข้ามาใกล้ๆ แล้วพูดว่า "นักแสดงมายากล เจ้าเอาอะไรมากำนัลเรา"</h3><h3><br /></h3><h3>"ศิษย์สร้างปราสาทให้ท่านอาจารย์ ประกอบกับท่านเคยบอกว่า จะมอบมนตราภิเษกกับคำสอนให้ ศิษย์จึงมาร่วมงานในวันนี้"</h3><h3><br /></h3><h3>มาร์ปะก็โต้กลับว่า "เจ้าสร้างปราสาทที่มีขนาดแคบบางกว่าแขนของเรา มันเทียบไม่ได้เลยกับพระธรรมสูงส่งที่เราลำบากลำบนจนได้รับมาจากแดนอารยะ (อินเดีย) ถ้าเจ้ามีของมีค่าอะไรจะแลกกับคำสอนก็จงเอามา ไม่เช่นนั้น ก็อย่านั่งอยู่กับผู้ได้รับการฝึกฝนในยานล้ำลึกของวัชรยาน"</h3><h3><br /></h3><h3>แล้วท่านมาร์ปะก็ตบหน้ามิลาเรปะ กระชากผมเขา และขับไล่เขาออกไป ขณะนั้น หัวใจของมิลาเรปะแตกสลาย เขาร้องไห้ตลอดคืนและปรารถนาที่จะตายจากไป</h3><h3><br /></h3><h3>Photo: quotemirror.com</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>  Milarepa (8)</b></span></h3><h3><span style="line-height: 1.5; color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ ๘ :</b></span><br /></h3><h3><br /></h3><h3>วันหนึ่ง ลูกศิษย์อีกกลุ่มก็มาขอให้ท่านมาร์ปะมอบมนตราภิเษกพระเหวัชระ (เจดอร์เจ) ให้ ตักเมมาก็ขอให้มิลาเรปะไปร่วมพิธีพร้อมทั้งเตรียมหม้อทองแดง อาหารและเนยเพื่อถวายพระอาจารย์ เมื่อมาร์ปะเห็นมิลาเรปะ ก็พูดว่า "นักแสดงมายากล เจ้ามีของอะไรมามอบให้แก่เรา" มิลาเรปะก็ตอบว่า "ศิษย์นำหม้อทองแดง อาหารและเนยมา" </h3><h3><br /></h3><h3>มาร์ปะก็สำรวจของและอาหารนั้น "นี่มันเป็นสิ่งที่คนอื่นให้เรามา อย่าเอาสมบัติของเรามามอบให้แก่เรา จงไปเอาของที่เป็นสมบัติของเจ้ามา ถ้าไม่มี ก็จงออกไปเสีย" แล้วมาร์ปะก็ลุกขึ้น สาปแช่งมิลาเรปะ พร้อมทั้งเตะเขาและขับไล่เขาออกจากห้องพิธี"</h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะเสียใจจนอยากจะหนีหายไปจากโลกนี้ นี่คงจะเป็นผลกรรมของการสังหารคนอื่นจากเวทมนตร์ ผลของการทำให้ไร่นาเสียหาย หรือพระอาจารย์คิดว่าเราไม่มีวันปฏิบัติธรรมได้ หรือท่านไร้ซึ่งความกรุณาจึงไม่ยอมสอนเรา จะเป็นประโยชน์อะไรล่ะถ้าเรามีกายมนุษย์แต่ไม่มีศาสนา กายมนุษย์นี้ก็สักแต่จะสั่งสมอาสวะเอาไว้ เราควรจะฆ่าตัวตายหรือไม่"</h3><h3><br /></h3><h3>ขณะนั้น ตักเมมาก็นำส่วนหนึ่งของอาหารซึ่งเป็นเครื่องบูชาที่ถวายในพิธีเหวัชระมาให้ แต่มิลาเรปะหมดความสนใจที่จะกินอาหารนั้น ตลอดคืนเขานอนร้องไห้ </h3><h3><br /></h3><h3>วันรุ่งขึ้น มาร์ปะมาหาเขาแล้วสัญญาว่า "ถ้าเจ้าทำทางเดิน ห้องภาวนา และปราสาทให้เสร็จ เราจะมอบคำสอนให้"</h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะจึงเร่งมือก่อสร้างจนเสร็จ แผ่นหลังของเขาเต็มไปด้วยแผล น้ำเหลืองกับเลือดไหลออกมา เขาให้ท่านตักเมมาดูที่แผ่นหลังของเขาซึ่งเต็มไปด้วยแผลพุพอง ท่านไม่สามารถกลั้นน้ำตาไว้ได้ เขาขอให้ท่านคุยกับลามะให้ใจอ่อนมอบคำสอน ท่านรับปากโดยทันที</h3><h3> </h3><h3>ต่อเบื้องหน้าของมาร์ปะ ตักเมมาพูดว่า "ลามะ ริมโปเช นักแสดงมายากลผ่ายผอมเหลือเกิน แผ่นหลังก็เต็มไปด้วยบาดแผล ข้าไม่เคยเห็นมนุษย์คนใดที่จะมีแผลเต็มหลังไม่ต่างจากม้าและลาที่แบกของหนัก ขอท่านโปรดกรุณามอบคำสอนให้เด็กหนุ่มด้วยเถิด"</h3><h3><br /></h3><h3>มาร์ปะกล่าวว่า "เราให้มันสร้างปราสาทสิบชั้น สิบชั้นอยู่ที่ไหน"</h3><h3> </h3><h3>"ตลอดเวลาที่ผ่านมา เขาสร้างเกินสิบชั้น แล้วยังสร้างทางเดิน "</h3><h3><br /></h3><h3>"หลังที่เป็นแผลเป็นมากไหม"</h3><h3><br /></h3><h3>"ไม่เพียงแต่เป็นแผล แต่มันเต็มไปหมดจนมองไม่เห็นเนื้อที่เป็นหลัง"</h3><h3><br /></h3><h3>มาร์ปะจึงตามไปดูแผล มิลาเรปะแอบหวังว่าพระอาจารย์จะสอนธรรมะ แต่ท่านกลับพูดว่า</h3><h3><br /></h3><h3>"พระอาจารย์นาโรปะผ่านการทดสอบที่ทารุณมาตั้ง ๒๔ อย่าง เป็นบททดสอบทั้งเล็กและใหญ่ ซึ่งยากลำบากกว่าที่เจ้าได้รับมากนัก ส่วนเราก็มอบทุกอย่างในชีวิตเพื่อคำสอน ถ้าเจ้าอยากได้คำสอนก็จงอ่อนน้อม แล้วทำงานต่อไป"</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>  Milarepa (9)</b></span></h3><h3><span style="line-height: 1.5; color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ ๙ :</b></span><br /></h3><h3> </h3><h3> ด้วยสิ้นหวังว่ามาร์ปะคงจะไม่มอบคำสอนให้และด้วยคำพูดขับไล่ของมาร์ปะที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า มิลาเรปะจึงตัดสินใจลาจากไป เขาไม่รู้ว่าชีวิตในภาคหน้าจะเป็นอย่างไร แต่ความปรารถนาที่จะปฏิบัติธรรมยังคงท่วมท้น</h3><h3> </h3><h3>เมื่อกล่าวคำลากับตักเมมา ท่านก็สงสารมิลาเรปะอย่างจับใจ ความรักของท่านต่อมิลาเรปะดุจมารดาที่มีต่อบุตร ท่านจึงวางแผนขโมยของสำคัญจากหิ้งพระในขณะที่มาร์ปะเมาหลับไป เป็นสร้อยลูกประคำทำจากหินปะการังและอัญมณีสืบทอดจากท่านนาโรปะ </h3><h3> </h3><h3>ตักเมมายังปลอมลายเซนต์ของมาร์ปะในจดหมายถึงลามะงกปะ ผู้เป็นศิษย์สำคัญของมาร์ปะ ฝากฝังท่านลามะงกปะให้มอบคำสอนชั้นสูงแแก่มิลาเรปะโดยมีปะการังและอัญมณีมีค่าสูงเป็นเครื่องบูชาข้อความในจดหมายระบุว่ามาร์ปะมีศิษย์เป็นจำนวนมากจากทุกทิศจึงไม่มีเวลาสอนมิลาเรปะ</h3><h3> </h3><h3>เมื่อมิลาเรปะไปถึงบ้านของลามะงกปะที่ภูเขาชุงดิง ท่านกำลังสาธยายบทปฏิบัติอันลึกซึ้ง</h3><h3><br /></h3><h3>ข้าเป็นคุรุแห่งพระธรรม</h3><h3>ข้าเป็นสังฆะแห่งผู้สดับฟัง</h3><h3>ข้าเป็นคุรุแห่งจักรวาลและวัตถุแห่งการตื่นรู้</h3><h3>ข้าเป็นทั้งสิ่งที่ถูกกำหนดและสิ่งที่ไร้ข้อกำหนด</h3><h3>ข้าเป็นสภาวะเดิมแท้แห่งมหาสุขที่ปรากฏขึ้นเอง</h3><h3><br /></h3><h3>ขณะที่ท่านลามะเอ่ยข้อความนี้ ท่านเหลือบไปเห็น มิลาเรปะกำลังกราบท่านอยู่จากที่ไกล ท่านทักทายเขาด้วยการถอดหมวกแล้วกล่าวแก่ศิษย์ของท่านที่ประชุมอยู่ ณ ที่นั้นว่า ชายผู้นี้จะเป็นคุรุแห่งคำสอนทั้งหลาย จงไปพาเขาเข้ามาแล้วถามว่าเขาคือใคร</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>  Milarepa (10)</b></span></h3><h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ ๑๐:</b></span></h3><h3><br /></h3><h3> พระภิกษุผู้เป็นศิษย์ของลามะงกปะออกไปต้อนรับมิลาเรปะพร้อมกับไต่ถาม "ท่านมีธุระอะไรกับพระอาจารย์ของเราหรือจึงได้เดินทางมาที่นี่"</h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะตอบว่า "เราเป็นศิษย์ของท่านมาร์ปะ เนื่องจากพระอาจารย์มีศิษย์หลายคนและมีการงานมาก จึงไม่มีเวลาสอนเรา เราจึงมาขอคำสอนจากท่านลามะงกปะ สำหรับของบูชาพระอาจารย์ เราได้นำอัญมณีของท่านนาโรปะกับมาลาทำด้วยหินปะการังมาด้วย"</h3><h3><br /></h3><h3>เมื่อพระภิกษุรูปนี้ไปบอกลามะงกปะ ท่านก็ทราบเลยว่าเป็นมิลาเรปะ ท่านยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สมบัติล้ำค่าซึ่งมีความหมายทางจิตใจสูงได้มาถึงเคหสถานของท่าน</h3><h3><br /></h3><h3> ท่านบอกเหล่าศิษย์ว่าการที่เราได้รับอัญมณีที่เคยเป็นของพระอาจารย์นาโรปะช่างเป็นเรื่องเหลือเชื่อราวกับการปรากฏของดอกอุปาละ (ดอกอุบล) ที่จะกำเนิดเฉพาะในภัทรกัลป์เท่านั้น พวกเราออกไปอัญเชิญอัญมณีและต้อนรับมิลาเรปะด้วยกัน</h3><h3><br /></h3><h3>เมื่อไปถึง มิลาเรปะยังคงยืนอยู่ ณ จุดเดิมที่เขาได้ถวายการกราบ บริเวณนี้ต่อมาจึงเรียกว่า "ชังซากัง" (เนินแห่งการกราบอัษฎางคประดิษฐ์)</h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะกราบท่านลามะอีกครั้งพร้อมมอบจดหมายกับของขวัญ ท่านลามะรับของขวัญด้วยน้ำตานองหน้า แล้วนำมาจบที่หน้าผาก เป็นสัญลักษณ์ของการสักการะบูชาและรับพร</h3><h3><br /></h3><h3>เมื่อเข้ามาที่ห้องพระ ท่านนำของขวัญมาวางตรงกลางหิ้ง แล้วเปิดจดหมายอ่าน </h3><h3><br /></h3><h3>เมื่ออ่านจบ ลามะกล่าวว่า "เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระอาจารย์มาร์ปะ เราจะสอนเจ้าเอง นักมายากล แต่ก่อนอื่นเจ้าจงไปจัดการกับชาวบ้านที่หมู่บ้านเยโปกับเยโมที่คอยมาขโมยเสบียงอาหารด้วยการใช้คาถาเวทมนต์ทำให้เกิดพายุลูกเห็บ พวกเขาจะได้เกรงกลัว เสร็จภารกิจนี้แล้วเราจะมอบคำสอนให้"</h3><h3><br /></h3> <h3>  <span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>  Milarepa (11)</b></span></h3><h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ ๑๑ : </b></span></h3><h3> </h3><h3>หลังจากลามะงกปะพูดจบ มิลาเรปะก็คิดใคร่ครวญ เขาบอกตัวเองว่า เขาช่างเป็นคนบาปหนาเสียเหลือเกิน เขาปรารถนาจะชำระล้างอกุศลกรรมที่เคยทำแต่กลายเป็นว่าทุกครั้งที่เขาขอรับคำสอน เขากลับต้องทำบาปเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าเขาไม่ทำให้เกิดพายุลูกเห็บ ก็เท่ากับว่าเขาเพิกเฉยต่อคำสั่งของคุรุ เขาไม่มีทางเลือกนอกจากทำตามที่ท่านลามะงกปะบอกให้ทำ</h3><h3><br /></h3><h3>ที่หมู่บ้านเยโป เขาเลือกจุดที่จะทำพิธีเรียกพายุลูกเห็บซึ่งใกล้บ้านหญิงชราคนหนึ่ง ขณะสวดมนต์จนเมฆดำจำนวนมากเคลื่อนเข้ามาอย่างน่าหวาดกลัว หญิงชราก็ลงมานั่งใกล้ๆ เขา นางสะอื้นไห้ที่พายุกำลังจะเกิดขึ้น</h3><h3><br /></h3><h3>นางพูดขึ้นว่า "เจ้าหนุ่ม ต่อไปนี้ยายคงไม่เหลืออะไรแล้ว ที่ผืนเล็กๆ ของยายกำลังจะถูกพายุทำลายหมดไป" </h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะมองหน้านางอย่างสะเทือนใจ เขาสัญญาว่าเฉพาะที่นาของนางเท่านั้นที่จะรอดแต่ที่อื่นๆ จะพังพินาศหมด</h3><h3><br /></h3><h3>สักพักก็เกิดพายุลูกเห็บที่ทำให้ไร่นาของหมู่บ้านเยโปเสียหายอย่างหนัก นกตัวเล็กๆ ตายเกลื่อนกลาด</h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะห่อนกเหล่านั้นแล้วนำมาวางกองไว้ที่เท้าของท่านลามะ </h3><h3> </h3><h3>"คุรุผู้ประเสริฐ ศิษย์มาที่นี่เพื่อขอพระธรรมอันวิเศษ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ศิษย์กลับต้องทำบาปมากขึ้น โปรดเมตตาคนบาปอย่างศิษย์ด้วยเถิด"</h3><h3><br /></h3><h3>แล้วเขาก็ร่ำไห้อยู่ตรงนั้น</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>  Milarepa (12)</b></span></h3><h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ ๑๒ : </b></span></h3><h3><br /></h3><h3> ด้วยสายตาที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา ลามะงกปะกล่าวว่า "สหายธรรม ผู้แสดงมายากลอันเก่งกาจ เจ้าจงอย่าทุกข์ใจไปเลย ในวิถีของเรามีวิธีที่จะช่วยให้คนบาปเข้าถึงการหลุดพ้นโดยทันที แล้วเจ้านกที่น่าสงสารเหล่านี้ที่ต้องมาตายเพราะพายุลูกเห็บจะได้ไปเกิดอยู่ใกล้ๆ เจ้าและจะกลายเป็นคณะของเจ้าเมื่อเจ้าได้เข้าถึงการหลุดพ้น ให้เจ้าดีใจว่าต่อแต่นี้ไปสัตว์เหล่านี้จะไม่ตกไปอยู่ในอบายภูมิ ถ้าไม่เชื่อ เราจะแสดงอะไรให้เจ้าดู" </h3><h3><br /></h3><h3>จากนั้น ลามะงกปะก็ดีดนิ้ว นกที่ตายไปก็ฟื้น บางตัวก็บินทะยานขึ้นสู่ฟ้า บางตัวก็อยู่บนพื้นดินและมุ่งกลับรัง</h3><h3><br /></h3><h3>ตั้งแต่วันนั้น ลามะงกปะก็มอบคำสอนให้มิลาเรปะ เขาได้รับคำสอนให้ได้ปฏิบัติพระเหวัชระ (พระยึตัมในคัมภีร์ตันตระชั้นสูง) มิลาเรปะย้ายไปอยู่ในถ้ำที่รกร้าง แต่ไม่ว่าจะฝึกปฏิบัติอย่างไร เขากลับเข้าไม่ถึงผลของการปฏิบัติ เขาไม่ได้รับประสบการณ์พิเศษใดๆ เนื่องจากเขาจากมาและฝึกฝนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่านมาร์ปะ </h3><h3><br /></h3><h3>ลามะงกปะก็แปลกใจมากที่มิลาเรปะไม่ได้มีความก้าวหน้าให้เห็น เขาเฝ้าคิดว่า เป็นไปได้อย่างไรกันหนอ ที่คำสอนจะไม่ให้ผลเหมือนที่ควรจะเกิดขึ้น</h3><h3><br /></h3><h3>ในตอนนั้น มาร์ปะได้มีจดหมายถึงลามะงกปะ เชิญมาร่วมงานฉลองปราสาทที่ท่านสร้างให้บุตรชายของท่านและงานมนตราภิเษก ลามะงกปะนำจดหมายเชิญนั้นมาให้มิลาเรปะดู </h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะจึงตัดสินใจบอกความจริงว่าจดหมายที่เขาถือมาในวันแรก มาร์ปะไม่ใช่คนเขียนและของถวายพระอาจารย์ไม่ว่าจะเป็นมาลาหรือเครื่องประดับก็ล้วนแต่ได้มาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากมาร์ปะ</h3><h3> </h3><h3>ลามะงกปะมิได้แสดงความโกรธแต่อย่างใด สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ท่านตระหนักแก่ใจว่าทำไมมิลาเรปะจึงไม่ได้รับผลจากการปฏิบัติธรรม ด้วยขาดพรจากพระปฐมอาจารย์ จึงไม่เกิดการตระหนักรู้นั่นเอง</h3><h3><br /></h3><h3>หลังจากนั้น ลามะงกปะก็พามิลาเรปะกลับไปหาท่านมาร์ปะ พร้อมทรัพย์สมบัติที่ท่านมี ไม่ว่าจะเป็นภาพทังกา ทองคำ หยก ผ้าไหม สถูป รวมทั้งของใช้ในครัวเรือน ยกเว้นเครื่องประดับและมาลาของมาร์ปะที่ไม่ได้เอาติดตัวไปและแพะแก่ชราตัวหนึ่งที่ขาหักซึ่งไม่สามารถตามฝูงสัตว์เลี้ยงที่พาไปด้วยได้ </h3><h3><br /></h3><h3>ท่านมอบผ้าไหมและหยกให้แก่มิลาเรปะเพื่อให้ถวายท่านมาร์ปะ ส่วนภรรยาของลามะงกปะก็มอบเนยแข็งหนึ่งถุงให้แก่มิลาเรปะเพื่อมอบให้แก่ท่านตักเมมา </h3><h3><br /></h3><h3>แล้วพวกท่านก็เดินทางมาถึงบ้านของมาร์ปะ มิลาเรปะกำลังจะได้พบกับพระอาจารย์อีกครั้ง</h3><h3><br /></h3> <h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>  Milarepa (13)</b></span></h3><h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ ๑๓ : </b></span></h3><h3><br /></h3><h3> ลามะงกปะกับศิษย์ทั้งหลายได้รับอนุญาตให้ร่วมพิธีมนตราภิเษก แต่ดังเช่นเคย มิลาเรปะไม่ได้รับอนุญาตและท่านมาร์ปะก็ปฏิเสธที่จะรับของถวายจากเขาด้วย </h3><h3><br /></h3><h3>ขณะถวายเครื่องบูชาแด่พระอาจารย์ ลามะงกปะกล่าวคำพูดต่อไปนี้ </h3><h3><br /></h3><h3>"พระอาจารย์ผู้ประเสริฐ เนื่องจากศิษย์ได้มอบกาย วาจา ใจให้ท่านแล้ว ในตอนนี้ศิษย์ขอมอบทรัพย์สมบัติที่มี ยกเว้นแพะแก่ขนยาวตัวหนึ่งที่ไม่สามารถมาที่นี่ได้เพราะมันขาหัก ศิษย์จึงไม่ได้พามันมาด้วย ขอพระอาจารย์โปรดรับเครื่องบูชาจากศิษย์พร้อมกับมอบมนตราภิเษกและคำสอนลึกล้ำจากหัวใจพระฑากินีด้วยเถิด" </h3><h3><br /></h3><h3>จากนั้น ลามะงกปะก็ก้มลงกราบพระอาจารย์</h3><h3><br /></h3><h3>มาร์ปะกล่าวว่า "แม้มนตราภิเษกและคำอธิบายที่เราจะมอบให้แก่เจ้าจะเป็นทางลัดไปสู่การบรรลุธรรมในสายวัชรยานโดยเจ้าไม่ต้องรอเวลาเป็นกัปเป็นกัลป์ แต่เนื่องจากการมอบคำสอนลึกล้ำอันเป็นหัวใจของพระฑากินีได้รับการปกป้องทั้งจากคุรุของเราและจากเหล่าฑากินี เราจึงไม่สามารถมอบคำสอนนี้ให้เจ้าได้ ยกเว้นว่าเจ้าจะนำแพะแก่ขาหักมามอบให้แก่เรา ส่วนคำสอนอื่นๆ เราก็ได้มอบให้เจ้าหมดแล้ว"</h3><h3><br /></h3><h3>ลามะงกปะจึงกลับไปพาแพะขาหักมามอบให้มาร์ปะในวันรุ่งขึ้น ทันทีที่มาร์ปะเห็นแพะแก่ตัวนี้ก็อุทานมาด้วยความดีใจ "เจ้าสมกับเป็นศิษย์ที่ได้รับการอภิเษกที่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา จริงๆ แล้วเราไม่ได้สนใจเจ้าแพะตัวนี้เลย เราแค่อยากให้เจ้าเห็นคุณค่าของคำสอนที่เราจะให้แก่เจ้า จากนั้น มาร์ปะจึงมอบมนตราภิเษกและคำสอนลึกล้ำตามที่ได้สัญญา</h3><h3><br /></h3><h3>๒-๓ วันหลังจากนั้น ในงานฉลอง ท่ามกลางพระภิกษุจำนวนมากที่มาจากแดนไกล มาร์ปะก็แสดงอาการเกรี้ยวกราดต่อลามะงกปะ "งกเติน ทำไมเจ้าจึงมอบคำสอนให้แก่ชายใจชั่วอย่างเจ้าข่าวดี (ชื่อในวัยเด็กของมิลาเรปะ)" </h3><h3><br /></h3><h3>ลามะงกปะตกใจมาก เขาก้มลงกราบท่านมาร์ปะ พร้อมกับกล่าวว่า "พระอาจารย์ผู้ประเสริฐ ท่านเองมิใช่หรือที่เขียนไปหาให้ศิษย์สอนเจ้ามายากล ท่านยังได้มอบอัญมณีของท่านนาโรปะและมาลาหินประการังแก่ศิษย์อีกด้วย ศิษย์ทำทุกอย่างตามที่ท่านขอให้ทำ"</h3><h3> </h3><h3>ได้ยินดังนั้น มาร์ปะก็เกิดบันดาลโทสะเป็นอย่างยิ่ง ท่านชี้มาที่มิลาเรปะ </h3><h3><br /></h3><h3>"แกเอาของมีค่าเหล่านี้มาจากไหน" </h3><h3><br /></h3><h3>มิลาเรปะนั่งก้มหน้านิ่งด้วยความหวาดกลัว หัวใจของเขาเจ็บปวดราวกับถูกทึ้งให้เป็นเสี่ยงๆ ด้วยเสียงสั่นเครือ เขาสารภาพว่ามารดาตักเมมาเป็นผู้มอบให้แก่เขา</h3><h3><br /></h3><h3>ภาพ : เงื่อนมงคล หนึ่งในสัญลักษณ์มงคลแปด แสดงถึงการเชื่อมโยงอย่างเป็นนิรันดรของสรรพสิ่ง ปัญญาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของพระพุทธเจ้า และการประสานกรุณากับปัญญา</h3><h3><br /></h3><h3>Photo: i.pinimg.com/</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3><span style="color: rgb(22, 126, 251);"><b>  Milarepa (14)</b></span></h3><h3><span style="line-height: 1.5; color: rgb(22, 126, 251);"><b>ตอนที่ ๑๔ : </b></span><br /></h3><h3><span style="line-height: 1.5;"><br /></span></h3><h3> (เมื่อมิลาเรปะคิดจะฆ่าตัวตาย)</h3><h3><br /></h3><h3>ทันทีที่ได้ยินว่า ตักเมมาเป็นผู้มอบของมีค่าให้มิลาเรปะ พระอาจารย์มาร์ปะก็โกรธจัด ท่านลุกขึ้นยืน เขวี้ยงไม้เท้าออกไปทางตักเมมา ด้วยนางฟังอยู่ตลอดเวลา จึงวิ่งหนีได้ทัน จากนั้น นางขังตังเองไว้ในห้องภาวนา ไม่ว่ามาร์ปะจะกระแทกประตูอย่างไร นางก็ไม่เปิด </h3><h3><br /></h3><h3>ท่านจึงหันมาที่ลามะงกปะ ขอให้งกปะกลับไปเอาอัญมณีและลูกประคำของท่านนาโรปะคืนมา ส่วนตัวท่านก็เอาเสื้อคลุมปิดหน้าไว้ อยู่ในท่านั้นอย่างไม่ไหวติง</h3><h3><br /></h3><h3>ลามะงกปะกราบลาเพื่อรีบกลับไปนำของมีค่ามาคืนให้ มิลาเรปะได้แต่ยืนเสียใจอยู่ตรงนั้น เขาเสียดายว่าไม่ได้หนีไปแอบกับมารดาตักเมมา เขาอยากจะร้องไห้ออกมาดังๆ แต่ก็เก็บน้ำตาเอาไว้ </h3><h3><br /></h3><h3>เขาบอกลามะงกปะว่า ขอให้รับเขาไปเป็นคนรับใช้ของท่านด้วยเถิด แต่ลามะงกปะปฏิเสธ ท่านบอกว่าไม่สามารถทำได้เพราะท่านมาร์ปะไม่อนุญาต ยกเว้นว่าวันหนึ่งท่านมาร์ปะไม่รับเขาเป็นศิษย์แน่ๆ ลามะงกปะก็สามารถรับมิลาเรปะเป็นศิษย์ได้อย่างสนิทใจ ท่านขอให้มิลาเรปะอย่าเพิ่งท้อแท้สิ้นหวัง </h3><h3><br /></h3><h3>แต่มิลาเรปะกล่าวว่า "เพราะบาปกรรมของศิษย์มีมากมาย ท่านกับมารดาตักเมมาจึงเดือดร้อน และในเมื่อร่างกายนี้จะไม่มีวันได้รับพระธรรม และมีแต่จะประกอบอกุศลกรรมไม่รู้จบสิ้น ศิษย์ก็ไม่สมควรมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ขอให้ศิษย์ได้เกิดใหม่ด้วยร่างกายที่พร้อมจะเป็นภาชนะรองรับพระธรรมด้วยเถิด"</h3><h3><br /></h3><h3>ขณะที่มิลาเรปะกำลังจะฆ่าตัวตาย ลามะงกปะก็รีบปกป้องเขาไว้ เขาปลอบประโลมมิลาเรปะด้วยน้ำตานองหน้าว่า "เจ้าข่าวดีผู้เปี่ยมไปด้วยคุณค่า เจ้าอย่าฆ่าตัวตาย เลือดเนื้อ อวัยวะ และอายตนะทั้งหลายของเราล้วนแต่เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ถ้าเจ้าตายก่อนวัยอันสมควร ก็เท่ากับว่าเจ้าได้สังหารผู้มีศักยภาพบรรลุธรรม การฆ่าตัวตายจึงเป็นอาชญากรรมอันยิ่งใหญ่ แม้แต่ในพระสูตรก็กล่าวว่าไม่มีบาปกรรมใดร้ายแรงกว่าการสังหารชีวิตของตัวเอง จงอย่าได้คิดฆ่าตัวตายอีก อย่าท้อแท้ ขอให้มีความหวังว่าสักวันหนึ่งพระอาจารย์จะรับเจ้าเป็นศิษย์"</h3><h3><br /></h3><h3>ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุผู้เป็นสานุศิษย์ของมาร์ปะต่างร่ำไห้ บางท่านไม่สามารถทนให้เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ได้อีก พวกเขาขึ้นไปพบมาร์ปะเพื่อขอร้องท่านไม่ให้โกรธเคืองมิลาเรปะและให้รับเขาเป็นศิษย์ </h3><h3><br /></h3><h3>ส่วนมิลาเรปะ ในหัวอกของเขามีแต่ความโศกเศร้าอันไม่มีประมาณ เขาเฝ้าถามตัวเองว่า "หัวใจของข้าทำด้วยเหล็กไหลหรือเปล่าหนอ" เพราะถ้าไม่ใช่ ป่านนี้หัวใจคงระเบิดออกมาแล้ว และข้าก็คงจะได้ตายจากโลกนี้ไปแล้ว ด้วยความผิดบาปในวัยเยาว์ที่ข้าได้ทำ ทุกวันนี้ชีวิตของข้า จึงไร้ศาสนา" </h3><h3><br /></h3><h3>ผู้คนที่ได้ฟังคำคร่ำครวญของเขา ก็ต่างสะอื้นไห้ หลายคนเป็นลมล้มลงไป</h3><h3><br /></h3><h3>กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล</h3><h3><br /></h3><h3>ภาพ : พระพุทธเจ้า ๓๕ พระองค์ ผู้ประทานสรณะในการสลายบาปกรรม โดยมีพระศรีศากยมุนีพร้อมด้วยพระอัครสาวกทั้งสองเป็นพระประธาน</h3><h3><br /></h3><h3>Photo: The thirty-five Confession Buddhas. himalayanart.org</h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3>&nbsp;<span style="line-height: 1.5;">ขอกราบประณตน้อมคุรุมิลาเรปะ</span></h3><h3><span style="line-height: 1.5;">ขอให้พระธรรมดำรงอยู่และความสุขสวัสดีจงมีตลอดไป</span><br /></h3><h3><br /></h3><h3><br /></h3> <h3>Thousand Stars Foundation</h3><h3>www.facebook.com/</h3><h3>มูลนิธิพันดารา </h3><h3>1000tara@gmail.com</h3>